จำนองและจำนำ แตกต่างกันอย่างไร

Last updated: 24 พ.ค. 2564  |  85155 จำนวนผู้เข้าชม  | 

จำนองและจำนำ แตกต่างกันอย่างไร

จำนอง
ความหมาย จำนอง หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง
เรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง

สาระสำคัญ
1. มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
2. ทรัพย์ที่จะจำนอง เป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ หรือ สังหาริมทรัพย์ที่กฎหมายกำหนดให้มีการจดทะเบียน
3. ผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัยพ์สิน ยังคงมีกรรมสิทธิ์อยู่
4. ผู้จำนองในสัญญาจำนองจะเป็นตัวลูกหนี้เอง หรือบุคคลภายนอกก็ได้
5. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ

การบังคับชำระหนี้ เจ้าหนี้ต้องฟ้องร้องเพื่อบังคับจำนอง โดยนำทรัพย์สินนั้นไปขายทอดตลาดโดยผู้รับจำนอง จะต้องบอกกล่าวแก่ผู้จำนองเป็นหนังสือก่อนว่าจะบังคับจำนอง

จำนำ
ความหมาย จำนำ ตามมาตรา 747 ให้ความหมายว่า คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าผู้จำนำ ส่งมอบสังหาริมทรัพย์ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อประกันการชำระหนี้

สาระสำคัญ
1. มีสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร
2. ทรัพย์ที่จำนำ เป็นสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ
3. ผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำให้แก่ผู้รับจำนำ
4. ผู้จำนำในสัญญาจำนำ จะเป็นตัวลูกหนี้เอง หรือบุคคลภายนอกก็ได้

5. วงเงิน จำนำ บริษัทลิสซิ่ง ส่วนใหญ่ อนุมัติไม่เกิน 200,000 บาท 

การบังคับชำระหนี้ บังคับจำนำได้เลย ไม่ต้องฟ้องร้องศาล โดยเอาทรัยพ์สินไปขายทอดตลาดได้เอง ไม่ต้องอาศัยคำสั่งศาล การบังคับจำนำ ไม่ต้องมีการแจ้งบังคับจำนำก่อนแต่อย่างใด

โดยสรุปคร่าวๆ ก็จะประมาณนี้ครับ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ข้อมูลเหล่านี้น่าจะพอเป็นประโยชน์กันบ้าง นะครับ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้