ไถ่ถอนขายฝาก

Last updated: 11 ธ.ค. 2563  |  32715 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไถ่ถอนขายฝาก

การไถ่ถอนขายฝาก ทำอย่างไร

โฉนดที่ดินทำนิติกรรม ขายฝาก ไว้ สำนักงานที่ดิน กรณีสัญญาขายฝากจดทะเบียนถูกต้อง  ควรไถ่ถอนภายในกำหนด และต้องดำเนินการไถ่ถอนที่กรมที่ดินเท่านั้น   ก่อนที่ดินจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ผู้รับซื้อฝาก   ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมให้ไถ่ถอน   ทางผู้ขายฝากสามารถให้ไปที่สำนักงานบังคับคดี ในจังหวัดนั้นๆ  ติดต่อสอบถามเรื่องการวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้   เมื่อวางทรัพย์ตามขั้นตอน  ถือว่ามีการไถ่ถอนตามกำหนดแล้ว.....ส่วนหนี้รายอื่น   เจ้าหนี้จะมานำมาใช้เป็นเหตุไม่ยอมให้ไถ่ถอนไม่ได้   ควรรีบดำเนินการวางทรัพย์เพื่อชำระหนี้ 

ความรู้เรื่องการวางทรัพย์....
การวางทรัพย์

            การวางทรัพย์เป็นกระบวนการที่อนุญาตให้ลูกหนี้หรือบุคคลที่สามที่ยินดีจะชำระหนี้แทนลูกหนี้มาวางทรัพย์ ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากดำเนินการอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมส่งผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ ถึงแม้ว่าเจ้าหนี้ไม่ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้

เหตุของการวางทรัพย์

เหตุที่จะวางทรัพย์ได้มีดังนี้ 
            1) เจ้าหนี้บอกปัดไม่ยอมรับชำระหนี้หรือปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ เช่น จ่ายค่าเช่าบ้านไม่ได้ เพราะผู้ให้เช่าบ่ายเบี่ยงเพื่อหาเหตุจะยกเลิกการเช่า 
            2) เจ้าหนี้ไม่สามารถจะรับชำระหนี้ได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะเจ้าหนี้ไม่อยู่หรือไปต่างประเทศไม่ทราบจะกลับมาเมื่อใด 
            3) ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิของเจ้าหนี้ หรือรู้ตัวเจ้าหนี้ได้แน่นอนโดยมิใช่ความผิดของตน เช่น เจ้าหนี้ตาย ลูกหนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นทายาท 
            4) ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 232,302,631,679,754,772 และ 947 
            5) ตามบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นให้มีการวางทรัพย์ เช่น กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ 
            6) ตามคำสั่งศาล

ทรัพย์ที่วางได้

ทรัพย์ที่วางได้ ได้แก่ เงินและทรัพย์สินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่จะส่งมอบกันตามกฎหมาย 
            1) ในกรณีที่เกี่ยวกับทรัพย์ที่วางเป็นเงิน 
                  1.1 วางทรัพย์ด้วยเงินสด 
                  1.2 วางด้วยเช็คทุกชนิดถ้าหากให้มีผลสมบูรณ์ในวันที่วาง ผู้วางทรัพย์ควรวางเป็นเงินสด 
            2) ทรัพย์ที่ไม่ควรวาง ได้แก่ 
                  2.1 สภาพทรัพย์ไม่ควรแก่การวาง หรือเป็นที่พึงวิตกว่าทรัพย์นั้นต่อไปจะเสื่อมเสียหรือทำลาย หรือบุบสลายได้ เช่น น้ำแข็งที่สลักเป็นรูปต่าง ๆ เพื่อความสวยงามในงานสมรส 
                  2.2 ค่ารักษาทรัพย์แพงเกินควร 
                  2.3 ตึกแถว โรงแรม คอนโดมิเนียม เครื่องจักร เป็นต้น
 ผู้ที่วางทรัพย์ได้

ผู้ที่วางทรัพย์ได้คือ 
            1) ลูกหนี้ 
            2) ผู้รับมอบอำนาจลูกหนี้ 
            3) บุคคลภายนอกที่เต็มใจชำระหนี้แทนลูกหนี้ เว้นแต่สภาพของหนี้ที่จะชำระนั้นไม่อาจให้บุคคลภายนอกชำระแทนได้
 
สถานที่ติดต่อในการวางทรัพย์คือ 
            1) ส่วนกลาง ติดต่อที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เลขที่ 189/1 ถนนบางขุนนนท์ แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพ โทรศัพท์ 02-881-4999 
            2) ส่วนภูมิภาค ติดต่อที่สำนักงานบังคับคดีจังหวัดทั่วประเทศ
  วิธีปฏิบัติและหน้าที่ของผู้วางทรัพย์

ผู้วางทรัพย์ต้องปฏิบัติและมีหน้าที่ดังนี้ 
            1) เขียนคำขอวางทรัพย์ตามแบบ ว.1 หากมอบให้บุคคลอื่นวางทรัพย์แทนต้องทำใบมอบอำนาจตามแบบ ว.4 
            2) เตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการวางทรัพย์ในเรื่องนั้น ๆ มาแสดง 
                  2.1 ถ้าวางตามสัญญาประนีประนอมยอมความของศาลให้มีคำพิพากษาตามยอมที่จ่าศาลรับรอง 
                  2.2 ถ้าวางตามสัญญาเช่าให้มีสัญญาเช่าพร้อมถ่ายสำเนาสัญญาเช่าที่รับรอง 
                  2.3 ถ้าวางตามสัญญาขายฝากให้มีสัญญาขายฝาก พร้อมถ่ายสำเนาสัญญาขายฝากที่รับรอง 
            3) ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายครั้งแรก 300 บาท 
            4) ในกรณีทรัพย์ที่วางเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องนำเจ้าพนักงานไปตรวจทรัพย์ก่อน 
            5) ผู้วางทรัพย์หรือผู้รับมอบอำนาจต้องมาให้เจ้าพนักงานสอบสวนถึงที่มาแห่งมูลหนี้ 
            6) ผู้วางทรัพย์ต้องแจ้งการวางทรัพย์ให้เจ้าหนี้ทราบโดยเร็ว
 

ผลของการวางทรัพย์

            1) ทำให้ท่านหลุดพ้นจากหนี้ที่ต้องชำระไม่ตกเป็นผู้ผิดนัดและไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่ เจ้าหนี้หลังจากวันที่ท่านวางทรัพย์ 
            2) เจ้าหนี้มีสิทธิมารับทรัพย์ที่วางภายใน 10 ปี นับแต่ได้รับคำบอกกล่าวการวางทรัพย์ หากเจ้าหนี้ไม่มารับสิทธิของเจ้าหนี้เหนือทรัพย์ที่วางเป็นอันระงับไป 
            3) เมื่อเจ้าหนี้มารับเงินแล้ว ผู้วางทรัพย์ ต้องมารับค่าใช้จ่ายที่วางประกันไว้คืน หากผู้วางทรัพย์ ไม่มารับคืนภายใน 1 เดือน เงินค่าใช้จ่ายวางประกันตกเป็นของแผ่นดิน

สามารถศึกษารายละเอียด กฎหมายขายฝากฉบับใหม่ ปี 2562 คลิก!

เว็ปไวต์กรมบังคดี http://www.led.go.th/

สนใจขายฝากโฉนดที่ดิน หรือปรึกษาการไถ่ถอนขายฝาก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้